หน่วยที่ 2


หน่วยที่ 2

หลักการ แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ
1.หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา
                                    1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้
                                    1.2 ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล
                                    1.3 ทฤษฎีการพัฒนาการ

ทฤษฎีจากกลุ่มพฤติกรรมนิยม
นักจิตวิทยาการศึกษากลุ่มนี้ เช่น chafe Watson Pavlov, Thorndike,    
 Skinnerซึ่งทฤษฎีของนักจิตวิทยากลุ่มนี้มีหลายทฤษฎี เช่น 

ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory)    ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง
 (Connectionism Theory) ทฤษฎีการเสริมแรง (Stimulus-Response Theory)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) เจ้าของทฤษฎีนี้คือ พอฟลอบ
 (Pavlov) กล่าวไว้ว่า ปฏิกิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งของร่างกายของ
คนไม่ได้มาจากสิ่งเร้าอย่าง ใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว สิ่งเร้านั้นก็อาจ
จะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นนั้นได้ ถ้าหากมีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้องเหมาะสม
ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Connectionism Theory) เจ้าของทฤษฎีนี้ คือ
ธอร์นไดค์ (Thorndike) ซึ่งกล่าวไว้ว่า สิ่งเร้าหนึ่ง ๆ ย่อมทำให้เกิดการตอบสนอง
หลาย ๆ อย่าง จนพบสิ่งที่ตอบสนองที่ดีที่สุด เขาได้ค้นพบกฎการเรียนรู้ที่สำคัญคือ

   1. กฎแห่งการผล (Law of Effect)
   2. กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise)
   3. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness)
ธอร์นไดค์ นักการศึกษาและจิตวิทยาชาวเยอรมัน ผู้ให้กำเนินทฤษฎีแห่งการเรียนรู้
 ได้เสนอหลักการ ภารกิจของการสอนของครูไว้ 2 ประการ และเสนอหลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาไว้ 5 ประการ 

ภารกิจการสอนของครู ควรจะดำเนินไปตามแนวของกฎ 2 ประการ คือ
1. ควรจัดเรื่องหรือสิ่งที่จะสอนต่าง ๆ ที่ควรจะไปด้วยกัน ให้ได้ดำเนินไปด้วยกัน
2. ควรให้รางวัลการสัมพันธ์เชื่อมโยงที่เหมาะสม และไม่ควรให้ความสะดวกใด ๆ ถ้าไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงที่เหมาะสมขึ้นมาได้
นอกจากนั้น ธอร์นไดค์ ยังได้กำหนดหลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยี

ทางการศึกษาและการสอนของเขาไว้ 5 ประการคือ
 1. การกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง (Self – Activity)
 2. การทำให้เกิดความสนใจด้วยการจูงใจ (Interest Motivation)
 3. การเตรียมสภาพที่เหมาะสมทางจิตภาพ (Preparation and Mentalset)
 4. คำนึงถึงเรื่องเอกัตบุคคล (Individualization)
 5. คำนึงถึงเรื่องการถ่ายทอดทางสังคม (Socialization)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข/ทฤษฎีการเสริมแรง (S-R Theory หรือ Operant Conditioning)
(Skinner) กล่าวว่า ปฏิกิริยาตอบสนองหนึ่งอาจไม่ใช่เนื่องมาจากสิ่งเร้าสิ่งเดียว
สิ่งเร้านั้นๆ ก็คงจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นเดียวกันได้ ถ้าได้มีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้อง

การนำทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมมาใช้กับเทคโนโลยีการศึกษา
   1. การเรียนรู้เป็นขั้นเป็นตอน (Step by Step
   2. การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียน (Interaction)
   3. การได้ทราบผลในการเรียนรู้ทันที (Feedback)
  4. การได้รับการเสริมแรง (Reinforcement)
แนวคิดของสกินเนอร์นั้น นำมาใช้ในการสอนแบบสำเร็จรูป 
 สกินเนอร์เป็นผู้คิดบทเรียนโปรแกรมเป็นคนแรก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น