มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง

            
ประวัติมหาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงตั้งอยู่เลขที่ ๔๖ หมู่ ๓ ต.จอมบึง อ.จอมบึง จ.ราชบุรี
ได้เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๔๙๗  เดิมมีชื่อว่า วิทยาลัยหมู่บ้านจอมบึง”(Chombueng Village Institute) โดยก่อตั้งเป็นสถานศึกษาตามแนวคิด  "วิทยาลัยหมู่บ้าน"
ของประเทศตุรกีมีจุดมุ่งหมายในการก่อตั้ง ๔ ประการคือ
๑. เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนครูในชนบทที่ต้องการพัฒนา  โดยคัดเลือกนักเรียนในท้องถิ่นทุรกันดารเข้าศึกษาเป็นอันดับแรกเมื่อศึกษาสำเร็จแล้วให้กลับไปพัฒนาท้องถิ่นของตน
๒. เพื่อปลูกฝังนักศึกษาครูให้รักอาชีพครูโดยผ่านการศึกษาเล่าเรียนและฝึกงานหลายแบบ  เพื่อนำความรู้ความชำนาญไปลงมือปฏิบัติได้
๓. เพื่อให้นักศึกษาครูรู้จักปฏิบัติตนในการเข้าสังคมโดยอยู่ร่วมกันแบบประชาธิปไตยคือการเคารพนับถือกันช่วยเหลือเกื้อกูลกันมีสติ
๔. เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาในท้องถิ่นใกล้เคียง  ในระยะแรกวิทยาลัยหมู่บ้านจอมบึงได้เปิดสอนหลักสูตร ๕ ปี  โดยรับนักศึกษาทุนจากถิ่นทุรกันดารจากทั่วประเทศซึ่งสำเร็จชั้น
ประถมศึกษาปีที่ ๗ เข้าเรียนเมื่อสำเร็จแล้วจะได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศยกฐานะวิทยาลัยหมู่บ้านจอมบึงเป็นวิทยาลัยครูหมู่บ้านจอมบึงและได้มีการรับนักศึกษาทั่วไปที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๓    เข้าเรียนหลัก
สูตร ๒ ปี  เมื่อสำเร็จแล้วได้วุฒิประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาอีกส่วนหนึ่งด้วย      ในปีเดียวกันนี้วิทยาลัยครูหมู่บ้านจอมบึงยังได้เริ่มเปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง
โดยรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาหรือเทียบเท่า เข้าเรียนหลักสูตร ๒ ปี
วิทยาลัยครูหมู่บ้านจอมบึงได้เริ่มเปิดสอนระดับปริญญาตรีตามหลักสูตรสภาการฝึกหัดครูในระยะแรกได้เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี ๒ ปี   โดยรับนักศึกษาที่สำเร็จประกาศนียบัตร
วิชาการศึกษาชั้นสูงหรือเทียบเท่าเข้าเรียนในปีเดียวกันนั้นวิทยาลัยได้เริ่มปิดสอนตามโครงการการศึกษาอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำการ(อคป.)ซึ่งเป็นโครงการร่วมมือ
กันระหว่างกรมการฝึกหัดครูและหน่วยงานผู้ใช้ครู  โดยมุ่งที่จะพัฒนาวิทยฐานะครูให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เข้ารับ
การอบรมตามโครงการนี้จะได้รับการศึกษาอบรมตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูงและหลักสูตรปริญญาตรี ๒ ปี
อนึ่ง    เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจส่งผลทำให้วิทยาลัยไม่สามารถที่จะรับนักศึกษาทุนในอัตราวงเงินเท่าเดิม (๒,๕๐๐ บาท/คน/ปี)ได้  ด้วยความเห็นชอบของกรมการฝึกหัดครูจึงได้เลิกรับนักศึกษาทุนในปีการศึกษา ๒๕๒๑ นั่นเอง
วิทยาลัยได้เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาทั้งนี้เพื่อสนองนโยบายของกรมการฝึกหัดครูและเนื่องจากความต้องการครูระดับนี้น้อยลงวิทยาลัยได้เริ่มเปิดสอนระดับปริญญาตรีหลักสูตร ๔ ปี  ตามหลักสูตรของสภาการฝึกหัดครูโดยรับผู้สำเร็จขั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าเข้าเรียน  เมื่อสำเร็จแล้วจะได้รับวุฒิ
ปริญญาครุศาสตร์บัณฑิต เช่นเดียวกับนักศึกษาระดับปริญญาตรีทั่วไปวิทยาลัยได้เริ่มเปิดสอนหลักสูตรเทคนิคการอาชีพตามหลักสูตรสภาการฝึกหัดครู  พ.ศ. ๒๕๑๙ เพิ่มพ.ศ. ๒๕๒๕  โดยรับนักศึกษาที่สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเข้าเรียนในภาค
สมทบ  เมื่อสำเร็จแล้วจะได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง  อย่างไรก็ตามวิทยาลัยเปิด สอนนักศึกษาภาคสมทบได้เพียงรุ่นเดียวก็มิได้เปิดอีก
วิทยาลัยได้เปิดสอนเทคนิคการอาชีพสำหรับนักศึกษาภาคปกติ ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูงวิทยาลัยเปิด สอนหลักสูตรนี้เพียงรุ่นเดียวเท่านั้น
วิทยาลัยได้เริ่มเปิดสอนระดับอนุปริญญาทางวิทยาศาสตร์และทางศิลปศาสตร์ตามหลักสูตรของสภาการฝึกหัดครู พ.ศ.๒๕๒๘ โดยรับนักศึกษาที่สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
เข้าเรียน ๒ ปี  เมื่อสำเร็จแล้วจะได้รับวุฒิอนุปริญญาทางวิทยาศาสตร์หรืออนุปริญญาทางศิลปศาสตร์ในปีเดียวกันนี้วิทยาลัยได้ปฏิบัติตามนโยบายของกรมการฝึกหัดครูคืองดรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูงและงดสอนตามโครงการ อคป.และได้เริ่มเปิดสอนตามโครงการการจัดการศึกษาสำหรับบุคลากรประจำการ(กศ.บป.)วิทยาลัยได้ขยายการเปิดสอนสาขาวิชาการอื่นจากระดับอนุปริญญาไปจนถึงระดับปริญญาตรี  สำหรับสายวิชาชีพครูก็ยังคงเปิดสอนตามปกติ
วิทยาลัยได้ปฏิบัติตามนโยบายของกรมการฝึกหัดครู  เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศคือการลดปริมาณการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาสายวิชาชีพครูลงและเพิ่มปริมาณ
การผลิตบัณฑิตระดับปริญญาและนักศึกษาระดับอนุปริญญาสาขาวิชาการอื่นให้มากขึ้นในหลายๆสาขาวิชา  พ.ศ.๒๕๒๘ วิทยาลัยครูหมู่บ้านจอมบึงได้รวมกลุ่มกับวิทยาลัยครูภาค
ตะวันตก ๔ แห่งได้แก่  วิทยาลัยครูเพชรบุรี  วิทยาลัยครูหมู่บ้านจอมบึง  วิทยาลัยครูกาญจนบุรี  วิทยาลัยครูนครปฐมและเรียกการรวมตัวครั้งนี้ว่า "สหวิทยาลัยทวารวดี"ปีการศึกษา
๒๕๓๐  วิทยาลัยครูหมู่บ้านจอมบึงได้เปิดสอนนักศึกษาโครงการคุรุทายาทซึ่งเป็นโครงการร่วมระหว่างสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติกับกรมการฝึกหัดครู      ให้เรียนในระดับ
ปริญญาตรี โปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัยและโปรแกรมวิชาการประถมศึกษา ต่อมาในปีการศึกษา ๒๕๒๔ กรมสามัญได้เข้าร่วมโครงการนี้วิทยาลัยได้รับการคัดเลือกให้สอนนักศึกษา
คุรุทายาทสายมัธยมศึกษา  โปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์  เกษตรศาสตร์และอุตสาหกรรมศิลป์(สาขาก่อสร้างและอิเล็คทรอนิกส์)ได้เปิดสอนนักศึกษาคุรุฑายาทสายประถมศึกษาโปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไปและสายมัธยมศึกษาโปรแกรมวิชาดนตรีการผลิตบัณฑิตในช่วงปี ๒๕๓๕ - ๒๕๓๙ ได้วางแผนให้
สอดคล้องกับนโยบายในแผนการพัฒนาการศึกษาระยะที่ ๗  ในกรอบและทิศทางของกรมการฝึกหัดครูที่เน้นให้วิทยาลัยครูเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นโดยผลิตบัณฑิต
ในสาขาวิชาการศึกษาสาขาวิชาศิลปศาสตร์และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ เป็นสัดส่วน ๔๐: ๓๐:๓๐ ตามลำดับ
เนื่องจากปัจจุบันวิทยาลัยครูเป็นสถาบันการศึกษาและวิจัยผลิตบัณฑิตในสาขาต่างๆ  ได้แก่ครุศาสตร์บัณฑิต  วิทยาศาสตร์บัณฑิตและศิลปศาสตร์บัณฑิต  แต่บุคคลทั่วไปยังเข้าใจผิด
ว่าที่จบจากวิทยาลัยครูต้องประกอบอาชีพครูเท่านั้นทำให้ผู้ที่จบการศึกษาในสาขาอื่น  ขาดโอกาสในการหางานทำและในบางครั้งเกิดความเข้าใจผิดคิดว่าวิทยาลัยครูมิได้เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจถูกต้องและเกิดประโยชน์แก่นักศึกษา   กระทรวงศึกษาธิการได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้วทรงพระกรุณาโปรด
เกล้าฯ พระราชทานชื่อ สถาบันราชภัฏแก่วิทยาลัยครูเมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕ และเมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๓๗  สภาผู้แทนราษฎร์ได้ให้ความเห็นชอบร่าง พ.ร.บ. สถาบัน
ราชภัฏและวุฒิสภาได้ให้ความเห็นชอบลงวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๓๗   ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๓๘   ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษฎีกาโดยนายชวน  หลีกภัย
นายกรัฐมนรี  เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการและมีผลบังคับใช้ในวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๓๘
สภาประจำสถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย อาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรในท้องถิ่นได้ร่วมกันร่างคำปณิธานของมหาวิทยาลัยเพื่อใช้เป็นปรัชญาและ
แนวทางในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย
อาจารย์และข้าราชการของมหาวิทยาลัยได้ร่วมกันจัดทำแผนกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบจากสภาประจำมหาวิทยาลัยเพื่อใช้เป็นแผนและเป้าหมายที่ชัดเจนในการ
พัฒนามหาวิทยาลัยในระยะ ๔ ปี (พ.ศ.๒๕๔๓-๒๕๔๖)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น