หน่วยที่ 5


หน่วยที่ 5

การออกแบบการเรียนการสอน











          ขั้นตอนเหล่านี้บางครั้ง ก็เหลื่อมซ้อนกันและสามารถทำให้มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันได้จะให้แนว ทางอย่างเป็นพลวัตและมีความยืดหยุ่นสำหรับการสอนที่มีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล
       
                                                 ภารกิจตัวอย่าง                   ผลลัพธ์ตัวอย่าง
 

  การวิเคราะห์(Analysis)            *  ประเมินความต้องการ      *  ประวัติผู้เรียน       

   กระบวนการกำหนดสิ่งที่เรียน      *  ระบุปัญหา                       *  คำอธิบายเงื่อนไข

                                                      *  วิเคราะห์ภารกิจ                *  ข้อความระบุ-
                                                                                                     ความต้องการปัญหา
 

  การออกแบบ(Design)             *  เขียนวัตถุประสงค์              *  วัตถุประสงค์ที่วัดผลได้
  กระบวนการกำหนด –                   *  พัฒนาข้อทดสอบ              *  กลยุทธ์การสอน
  วิธีเรียน                                        * วางแผนการสอน                *  รายละเอียดข้อกำหนด-
                                                     *  กำหนดทรัพยากร                  ต้นแบบ


 

 การพัฒนา (Development)      *  ทำงานร่วมกับผู้ผลิต          *  ป้ายเรื่อง
  กระบวนการประพันธ์                  *  พัฒนาสมุดแบบฝึกหัด,     *  บท
  และผลิตสื่อ                                    ผังงานโปรแกรม             *  รายละเอียดข้อกำหนด-
                                                                                                  ของต้นแบบ
 

  การดำเนินการให้เป็นผล        *  ฝึกอบบรมผู้สอน               *  ข้อเสนอแนะของผู้เรียน,
  (Implementation)                  *  ทดสอบ                           ข้อมูลต่างๆ
   กระบวนการติดตั้งดำเนินการ
   โครงการในบริบทที่เป็นสภาพจริง    
 

  การประเมินผล(Evaluation)      บันทึกข้อมูลเวลา               *  ข้อเสนอแนะ
   กระบวนการวินิจฉัย-                   *  แปลผลผลลัพธ์การทดสอบ *  รายงานของโครงการ
   ความเพียงพอของการสอน          *  สำรวจการสำเร็จการศึกษา *  ต้นแบบที่ปรับปรุงแล้ว
                                                    *   ปรับปรุงกิจกรรม

 

แบบจำลอง ADDIE
เป็นกระบวนการออกแบบการสอนที่กระทำวนซำใหม่  ในที่ผลของการประเมินผลเพื่อพัฒนาของแต่ละขั้นตอนที่ชี้แนะให้นักออกแบบการสอนพิจารณากลับไป ที่ขั้นตอนก่อนหน้า   ผลิตผลขั้นสุดท้ายของขั้นตอนหนึ่งๆ    เป็นผลิตผลเริ่มต้นของขั้นตอนต่อไป
การออกแบบระบบการสอนโดยใช้แบบจำลอง ADDIE
(Instructional System Design (ISD): Using the ADDIE Model)
การวิเคราะห์(Analysis)
            ขั้นตอนการวิเคราะห์เป็นรากฐานสำหรับขั้นตอนการออกแบบการสอนขั้นตอนอื่นๆ   ในระหว่างขั้นตอนนี้ คุณจะต้องระบุปัญหาระบุแหล่งของปัญหา         และวินิจฉัยคำตอบที่ทำได้    ขั้นตอนนี้อาจประกอบด้วยเทคนิคการวินิจฉัยเฉพาะ  เช่น   การวิเคราะห์ความต้องการ(ความจำเป็น) , การวิเคราะห์งาน,การวิเคราะห์ภารกิจ    ผลลัพธ์ของขั้นตอนนี้มักประกอบด้วย เป้าหมาย (goal),  และรายการภารกิจที่จะสอน  ผลลัพธ์เหล่านี้จะถูกนำเข้าไปยังขั้นตอนการออกแบบต่อไป

การออกแบบ (Design)
          ขั้นตอนการออกแบบเกี่ยวข้องกับการใช้ผลลัพธ์จากขั้นตอนการวิเคราะห์ เพื่อวางแผนกลยุทธ์สำหรับพัฒนาการสอนในระหว่างขั้นตอนนี้คุณจะต้องกำหนดโครงร่างวิธีการให้บรรลุถึงเป้าหมายการสอน  ซึ่งได้รับการวินิจฉัยในระหว่างขั้นตอนการวิเคราะห์ และขยายผลสารัตถะการสอน
องค์ประกอบบางประการของขั้นตอนการออกแบบอาจจะประกอบด้วยการเขียนรายละเอียดกลุ่มประชากรเป้าหมาย,การดำเนินการวิเคราะห์การเรียน,          การเขียนวัตถุประสงค์และข้อทดสอบเลือกระบบการนำส่ง และจัดลำดับขั้นตอนการสอน ผลลัพธ์ของขั้นตอนการออกแบบจะเป็นข้อมูลนำเข้าสำหรับขั้นตอนการพัฒนาต่อไป

การพัฒนา (Development)
          ขั้นตอนการพัฒนาสร้างขึ้นบนบนขั้นตอนการวิเคราะห์และการ ออกแบบ จุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้คือสร้างแผนการสอนและสื่อของบทเรียนใน ระหว่างขั้นตอนนี้คุณจะต้องพัฒนาการสอนและสื่อทั้งหมดที่ใช้ในการสอน และ เอกสารสนับสนุนต่างๆ สิ่งเหล่านี้อาจจะประกอบด้วยฮาร์ดแวร์ (เช่น เครื่องมือสถานการณ์จำลองและซอฟต์แวร์ (เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน)
การดำเนินการให้เป็นผล (Implementation)

          ขั้นตอนการดำเนินการให้เป็นผล หมายถึงการนำส่งที่แท้จริงของการสอน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบชั้นเรียน หรือห้องทดลอง หรือรูปแบบใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานก็ตาม จุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้คือการนำส่งการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  ขั้นตอนนี้จะต้องให้การส่งเสริมความเข้าใจของผู้เรียนในสารปัจจัยต่างๆสนับสนุนการเรียนรอบรู้ของผู้เรียนในวัตถุประสงค์ต่างๆ และเป็นหลักประกันในการถ่ายโอนความรู้ของผู้เรียนจากสภาพแวดล้อมการเรียนไป ยังการงานได้

การประเมินผล (Evaluation)

          ขั้นตอนนี้วัดผลประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการสอน  การประเมินผลเกิดขึ้นตลอดกระบวนการออกแบบการสอนทั้งหมด กล่าวคือ ภายในขั้นตอนต่างๆ      และระหว่างขั้นตอนต่างๆ และภายหลังการดำเนินการให้เป็นผลแล้ว   การประเมินผล    อาจจะเป็นการประเมินผลเพื่อพัฒนา (Formative evaluation)หรือการประเมินผลรวม (Summative evaluation)

          การประเมินผลเพื่อพัฒนา (Formative evaluation):
           
            ดำเนินการต่อเนื่องในภายในและระหว่างขั้นตอนต่างๆ               จุดมุ่งหมายของการประเมินผลชนิดนี้ คือ  เพื่อปรับปรุงการสอนก่อนที่จะนำแบบฉบับขั้นสุดท้ายไปใช้ให้เป็นผล

          การประเมินผลรวม (Summative evaluation): 
           
          โดยปกติเกิดขึ้นภายหลัง การสอน เมื่อแบบฉบับขั้นสุดท้ายได้รับการดำเนินการใช้ให้เป็นผลแล้ว  การประเมินผลประเภทนี้จะประเมินประสิทธิผลการสอนทั้งหมด ข้อมูลจากการ ประเมินผลรวมโดยปกติมักจะถูกใช้เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับการสอน (เช่นจะซื้อชุดการสอนนั้นหรือไม่ หรือจะดำเนินการต่อไปหรือไม่)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น